หากจะสู้กับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเพื่อรักษาโลกของเราเอาไว้ต้องเริ่มจากการฟื้นฟูทรัพยากรเสียก่อน
V1.0.2. แนวคิดของ เจได (JEDI) เพื่อเร่งพัฒนาวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกให้สำเร็จแม้ว่าปัจจุบันจะมี เครือข่ายอนุรักษ์สภาพภูมิอากาศโลก (Climate Action Network) ซึ่งรับผิดชอบในการเสริมสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมหลอมรวมความร่วมมือของคนในชุมชน และคิดหาแนวทางแบบใหม่ ในขณะเดียวกันเราควรเน้นย้ำไปยัง วิธีการแก้ไขปัญหาที่สามารถตอบโจทย์ได้จริง
บทคัดย่อ : วิธีแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างได้ผลนั้นจำเป็นต้องมาจากความร่วมมือกันของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆทั่วโลกนำเสนอแนวคิดและผู้ปฏิบัตินำแนวคิดนั้นออกไปปฏิบัติจริง อาจเรียกได้ว่านี่คือการสร้างเครือข่ายที่ใหญ่ระดับโลก แต่ต้องเข้าถึงปัญหาระดับล่าง ซึ่งจะประกอบไปด้วยปัญหาด้านอื่นๆอีกมากมายย่อยลงมาเช่นความแตกต่างด้านสวัสดิภาพทางสังคม และความจำกัดด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ เป็นต้น
▽
ความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกของโลกเราโดยส่วนใหญ่เป็นผลของการสูญเสียไปของทรัพยากรทางธรรมชาติซึ่งนักการเมืองและบริษัทยักษ์ใหญ่ส่วนมากไม่ค่อยให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกนี้มากนัก จนเกิดเป็นความละเลยจากคนในสังคม ท้ายที่สุดส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความเข้มข้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จนล่าสุดถุบสถิติที่ 400 ppm.
แม้จะได้รับความร่วมมือจากหลากหลายประเทศทั่วโลกอีกทั้งการรับรู้จากคนในสังคมความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนรวมถึงหลักการปฏิบัติวิถีใหม่ก็อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เราชนะวิกฤตครั้งนี้ได้ ตราบใดที่การทำงานของเรายังไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ของโลกนั้นจำเป็นต้องอาศัยการช่วยกันแก้เป็นวงกว้างแต่ปัญหาในระดับล่างกลับต้องการวิธีที่เจาะจงมากกว่า จึงจะสามารถถอดสมการนี้ได้สำเร็จ
อะไรจะเกิดขึ้นหลังจาก การรับรู้ในสังคม ความร่วมมือในสังคม และวิธีปฏิบัติ เป็นอันครบถ้วน
นักวิทยาศาตร์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศ จะสามารถรักษาโลกของเราใบนี้ ได้หรือไม่
คำตอบคือ ไม่ เพราะว่าเหล่านักวิทยาศาตร์และผู้เชี่ยวชาญ ทำหน้าที่เพียงศึกษาและนำเสนอ เฉพาะในสิ่งที่เกิดขึ้น สถานที่เกิดเหตุ เวลาที่เกิดเหตุ รวมไปถึงแนวทางปฏิบัติ แต่บางทีพวกเขาอาจจะยังไม่รู้วิธีการติดตั้ง พลังงานทางเลือกใหม่ หรือเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เลยซะด้วยซ้ำ
ภาคธุรกิจจะสามารถรักษาโลกใบนี้ได้หรือไหม
คำตอบคือ ไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากในตลาดการค้าเสรีนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ องค์กรที่มีขนาดใหญ่ หรือตัวบุคคล ล้วนแล้วแต่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งเป้าหมายการรักษาสภาพอากาศโลกนั้นก็ไม่ได้ตอบโจทย์ของการเพิ่มผลกำไรของตนแต่อย่างใดจึงสรุปได้ว่าภาคธุรกิจยังคงต้องการแรงกระตุ้นมากกว่านี้
เพื่อที่เราจะสามารถชนะวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และเพื่อฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เราต้องมุ่งไปที่ วิธีการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก
โดยการประสานงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งเกิดจาก การรวบรวม แนวคิด วิธีปฏิบัติ และความรู้เชิงเทคนิคนั้น จะก่อให้เกิดกลุ่มเครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ที่มุ่งแสวงหาทางออกไปด้วยกัน
โดยเริ่มลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกจากภาคที่มีขนาดเล็กสุดเช่นภาคท้องถิ่นและขยายวงให้กว้างออกไป จากนั้นจะคอยเป็นผู้ผลักดัน แนวทางแก้ปัญหา ซึ่งถูกนำไปใช้โดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้เป็นที่ประจักษ์ในสังคมมากยิ่งขึ้น
เครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศจะสำเร็จไม่ได้เลย หากขาด 3 ปัจจัย ดังต่อไปนี้
-
ผู้ปฏิบัติตามไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดานักวิชาการณ์นักบริหารหรือองค์กรต่างๆทั่วโลกจะต้องนำแนวคิดไปลองปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง
-
วิถีทางปฏิบัติหลากหลายและสามารถนำไปดำเนินการทดลองใช้ได้ทันที
-
ผู้ปฏิบัติในระดับทองถิ่นช่วยกันประสานงานกับ เครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ นำเอาแนวคิดไปประยุกต์ใช้โดยจะเป็นการเสริมสร้างการรับรู้ถึงปัญหาและวิธีการรับมือให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในสังคม
อาจเรียกได้ว่าเป้าหมายจริงๆของการประสานงานกันอย่างเป็นระบบก็เพื่อถ่ายทอดแนวความคิดต่างๆให้ไปถึงผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ที่จะเป็นผู้นำเอาแนวคิดต่างๆนั้นไปปฏิบัติใช้จริง
องค์ประกอบ 3 ส่วนของการประสานงานร่วมกันในเครือข่าย มีดังต่อไปนี้
🔑 ผู้ปฏิบัติ
องค์กร หรือ บุคคลทั่ว ไป ที่นำเอาแนวคิดไปประยุกต์ใช้ ได้แก่
- ผู้ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและทรัพยากรทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน
- หน่วยงานต่างๆ ทั้งในสถาบันให้การศึกษารวมถึงบริษัทเอกชนบางบริษัท ที่ออกมาแสดงความรับผิดชอบ แม้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาคอื่นเลยก็ตาม
- บริษัทขนาดเล็ก กลาง จนไปถึงขนาดใหญ่ ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- นักการเมือง หน่วยงานของภาครัฐ ที่มีหน้าที่ดูแลด้านสังคมและวัฒนธรรม
- ผู้มีอิทธิผล ผู้มีฐานะดี หรือผู้ที่เป็นภาพลักษณ์ให้แก่ประเทศชาติ ล้วนมีส่วนในการออกมาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยรณรงค์เพื่อให้เป็นแบบอย่างต่อสังคม หรือบริจาคกำลังทรัพย์ส่วนตนเพื่อการสมทบทุน
- สามัญชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง พนักงานบริษัท หรือเจ้าของกิจการรายย่อย ที่มีความสนใจและพร้อมช่วยสนับสนุน
- พวกเราที่เหลือทั้งหมด ก็ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะมีส่วนช่วยมากหรือน้อยเพียงใด ล้วนแล้วเป็นส่วนที่จะคอยเติมเต็มความช่วยจากทุกภาคส่วนในสังคม
และยังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่พร้อมจะลงมือช่วยกู้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกนี้แต่อาจจะไม่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตนเองเนื่องจากที่ผ่านมายังไม่เคยมีการริเริ่มลงมือปฏิบัติจากภาคส่วนใดๆให้เห็นถึงเป็นรูปธรรมเลย
การรณรงค์ส่งเสริมของเครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศจะไม่มีความหมายแต่อย่างใด หากขาดความร่วมมือจาก บุคลากรทั้ง 10 กลุ่มอาชีพ ดังต่อไปนี้
🔑 บุคลากร 10 กลุ่ม ที่ขาดไม่ได้
นักวิชาการจะเป็นผู้เสนอแนะแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เรารับมือกับวิกฤตการณ์นี้ได้อย่างถูกต้องโดยมาจากเครือข่ายนักวิชาการที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบและสามารถนำแนวทางนั้นๆไปปรับใช้กับคนทั่วไปในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
บุคลากรใน 10 กลุ่มนี้จะมาจากภาควิชาการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการประสานงาน พัฒนา ทดสอบ นำร่อง และประยุกต์กลวิธีต่างๆเพื่อให้พบวิธีที่สามารถปฏิบัติได้จริงเพื่อให้ผลลัพธ์ดีที่สุด
1. กลุ่มพลังงานหมุนเวียน
บุคลากรกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยทุกคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานกระแสน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานไฮโดรเจน รวมไปถึง พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพอีกด้วย
บุคลากรในกลุ่มนี้สามารถประสานงานกันในรูปแบบของเครือข่าย ซึ่งจะยิ่งส่งผลดีในการก่อตั้งฐานที่มั่นคง เพื่อเป็นฝ่ายสนับสนุนทั้งภายใน และภายนอกเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น กลุ่มกู้วิกฤตจากภาคพลังงาน หรือเรียกโดยย่อว่า “จีซีเอส เอนเนอร์จี” มาจาก พลังงานการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลก GCS-Energy,; ประกอบไปด้วยกลุ่มย่อย ตามรูปแบบของพลังงานที่ตนรับผิดชอบ เช่น GCS-Energy Solar เป็นต้น
2. กลุ่มป่าไม้และทรัพยากรทางธรรมชาติ
ประกอบไปด้วยบุคลากรที่มาจากกลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้และทรัพยากรทางธรรมชาติทำหน้าที่รณรงค์ให้ปลูกป่าทดแทน และป้องกันเขตอนุรักษ์ป่าสงวนเพื่อไม่ให้ถูกรุกล้ำ เรียกได้ว่า GCS-Forests
3. กลุ่มทรัพยากรทางทะเล
ได้แก่บุคลากรที่ทำงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและมหาสมุทรดูแลเรื่องการควบคุมมลภาวะทางน้ำและรวมถึงการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหรือGCS-Oceans
4. กลุ่มปฏิวัติการบริโภค
บุคลากรผู้หันเหการบริโภคจากแบบเดิมๆเช่นเนื้อสัตว์ น้ำมันปาล์ม และอาหารที่ให้โทษอื่นๆ มาเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสามารถนำมาทดแทนอาหารที่ก่อให้เกิดโทษได้ เราเรียกกลุ่มนี้ว่า GCS-Food Reform
5. กล่มเกษตรกรรมและปศุสัตว์
บุคลากรกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยเกษตกรเป็นหลักโดยเป็นผู้ที่ทำการเกษตรแบบอนุรักษ์ดิน และสร้างผลผลิตโดยไม่พึ่งพาสารเคมี ตลอดจนเกษตกรที่แสดงความรับผิดชอบต่อผลผลิตส่วนตน หรือเกษตกรที่ไม่ทำการบุกรุกทรัพยากรทางธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตในเขตอนุรักษ์ป่าสงวน แต่อย่างใด เรียกว่า GCS Agriculture
6. กลุ่มก่อสร้าง
ได้แก่บุคลากรที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปล่อยมลพิษในขณะทำการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน สถาปัตยกรรม หรือการปฏิสังขรณ์ต่างๆ โดยไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด รวมไปถึงการรับผิดชอบในการควบคุมมลผิษที่ปล่อยออกมาจาก ปูนซีเมนต์ คอนกรีต ฉนวนกันความร้อน และวัสดุที่ใช้ทำการก่อสร้างอื่นๆ เรียกว่า GCS Buildings & Construction
7. กลุ่มบริหารเงินทุนหมุนเวียน
ทำหน้าที่จัดหาเงินทุนโดยเรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการใดๆที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นทุนในการสนับสนุนการทำกิจกรรมรณรงค์ต่างๆของเครือข่ายกู้วิกฤตภูมิอากาศโลก เรียกได้ว่า GCS-Divest
8. กลุ่ม 3R (Reduce, Repair, Recycle)
ประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีหน้าที่รณรงค์ส่งเสริมการลดปริมาณขยะจากการบริโภคโดยการนำมาแปรรูปหรือนำกลับมาซ่อมเพื่อใช้งานใหม่อีกครั้งแทนที่จะต้องซื้อชิ้นใหม่มาแทนที่เสมอไปเพื่อเป็นลดอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะทั่วไปและขยะพลาสติกที่เกิดจากการใช้งานเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง เรียกกลุ่มนี้ได้ว่า GCS-R3
9. กลุ่มนักวิจัยด้านภาวะเรือนกระจก
กลุ่มนักวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะเรือนกระจกโดยเฉพาะเพื่อหานวัตกรรมช่วยลดความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกบนชั้นบรรยากาศเช่นนวัตกรรมดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและกระบวนการแปรสภาพก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อประโยชน์ด้านอื่น อย่างระบบทำความเย็นของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น นอกเหนือจากก๊าซเรือนกระจก นักวิจัยควรทำการศึกษาในเรื่องก๊าชธรรมชาติชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ก๊าซที่เกิดขึ้นบริเวณที่เปลือกน้ำแข็งขั่วโลกละลายตัวลง เป็นต้น เราอาจเรียกกลุ่มนี้ว่า GCS-Restore
10. กลุ่มควบคุมปริมาณประชากรโลก
บุคลากรในกลุ่มนี้ทำหน้าที่รักษาสมดุลย์ของจำนวนประชากรโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีจำนวนประชากรอาศัยรวมกันอย่างหนาแน่นและมีอัตราเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า GCS-Have2
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญข้างต้นนี้จะคอยเป็นกำลังในการสนับสนุนส่งเสริมและเผยแพร่แนวทางที่ให้กับเครือข่ายปฏิบัติการระดับประเทศ นำไปดำเนินการต่อตามลำดับ
🔑 เครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศระดับประเทศ
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญข้างต้นนี้ จะคอยเป็นกำลังในการสนับสนุนส่งเสริม และเผยแพร่แนวทางที่ให้กับเครือข่ายปฏิบัติการระดับประเทศ นำไปดำเนินการต่อตามลำดับเครือข่ายกู้วิกฤตภูมิอากาศระดับประเทศ
ในขณะที่ขั้นตอนฟื้นฟูสภาพอากาศต่างๆ กำลังถูกนำไปทดลองปฏิบัติอยู่นั้น บรรดานักการเมือง บริษัทน้อยใหญ่ และคนในชุมชนต่างๆ ล้วนออกมาเรียกร้องให้เกิดความตระหนักรับรู้ถึงความสำคัญของสภาพอากาศ จึงเป็นที่มาของกลุ่มเคลื่อนไหวการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศในประเทศ ที่รวบรวมทุกแนวคิดจากทุกภาคส่วนมาประสาน เข้าด้วยกัน
และร่วมกันลงมือปฏิบัติเป็นหมู่คณะ ซึ่งย่อมให้ผลดีกว่าการปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งลงมือทำกันเองอย่างแน่นอน
ฉะนั้น เมื่อใดที่เครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศระดับประเทศ และเหล่าบุคลากรจากภาควิชาการ ได้ร่วมกันทำงานอย่างเป็นกิจลักษณะ จะเกิดเป็นแรงผลักดันในสังคมที่ทำให้ทุกคนเกิดความตระหนัก และร่วมกันปฏิบัติตามอย่างเป็นรูปธรรม
1. ลงมือทำทันที
ประชาชนภายในแต่ละประเทศ นำเอาแนวคิดต่างๆ ที่ 10 กลุ่ม นักวิชาการเสนอแนะ ไปปฏิบัติใช้ ซึ่งเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพจะทำให้การทำงานร่วมกัน ระหว่างองค์กรจากภาควิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นไปด้วยความราบรื่น
แม้บางครั้งอาจจำเป็นต้องอาศัยให้ ภาคธุรกิจ บริษัทห้างร้าน และที่สำคัญคือ ภาครัฐ ในการริเริ่มลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมเสียก่อน และหากประเทศใดยังไม่เริ่มลงมือทำ หรือทำได้ค่อนข้างล่าช้ากว่าประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุผลใดก็ตาม
หน้าที่จะตกไปเป็นของประชาชน ที่จะต้องออกมาสร้างแรงกระตุ้น เพื่อตอกย้ำความสำคัญการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศให้ภาครัฐและเอกชนรับรู้
ในสังคมที่ประกอบไปด้วยความหลากหลาย เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ประชาชนบางกลุ่มอาจเพิกเฉยต่อแนวทางปฏิบัติต่างๆ หรือขัดขวางและ ไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ ให้ เกิดผล แต่ถึงกระนั้นเราก็ต้องพยายามเข้าถึงให้มากขึ้น เชื่อว่าบางส่วน หากไม่ใช่ทั้งหมด สามารถเปลี่ยนความคิดตนเสียใหม่ได้ไม่ยากนัก
ระเบียบการ:วิธีปฏิบัติต่างๆ ต้องได้รับการเห็นชอบจากคนในท้องถิ่น ก่อนจะถูกนำไปปฏิบัติจริง เนื่องจากพวกเขาคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และควรคำนึงถึงวิถีความเป็นอยู่ของผู้คน และผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นเป็นสำคัญ
2. สร้างการรับรู้และปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ
ในการปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศจากเดิมสู่วิถีใหม่ สังคมจำเป็นต้องรับทราบเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งวิธีการรับมือกับผลกระทบนั้นๆ ไว้ล่วงหน้า
ในการสร้างการรับรู้การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกในชุมชนจำเป็นต้องค่อยๆ ขยายวงให้กว้างออกไป ซึ่งในขณะเดียวกันอาจมีคนที่ไม่เห็นด้วยสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคม
ในการสร้างการรับรู้ในชุมชนจำเป็นต้องค่อยๆ ขยายวงให้กว้างออกไป ซึ่งในขณะเดียวกันอาจมีคนที่ไม่เห็นด้วยสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคม
ในการสร้างการรับรู้ในชุมชนจำเป็นต้องค่อยๆ ขยายวงให้กว้างออกไป ซึ่งในขณะเดียวกันอาจมีคนที่ไม่เห็นด้วยสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคม
ในโลกยุคปัจจุบัน การสร้างการรับรู้การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำได้โดยยากแต่อย่างใด เราสามารถสื่อสารผ่านสื่อหลากหลายช่องทาง เช่น โทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต การอบรม และกิจกรรมให้ความรู้อื่นๆ ที่จัดขึ้นในชุมชน เป็นต้น
3. การปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่
วิถีชีวิตของคนเราประกอบไปด้วย บรรทัดฐานทางสังคม คุณค่าของชีวิต กฏระเบียบในสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณี ผสมเข้าด้วยกันจนกลายเป็นวิถีการดำรงชีวิตในแต่ละชุมชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้างตามกาลเวลา เพราะฉะนั้น หากจะนำแนวทางการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศไปใช้อย่างได้ผลสูงสุด เราต้องทำให้มันกลายเป็นสิ่งใกล้ตัวเรา และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต
คนในชุมชนก้าวเข้าสู่วิถีใหม่
-
เปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ กฏระเบียบ ให้เป็นไปตามแนวทางวิถีใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นหลัก
-
ประยุกต์วิถีใหม่ให้เข้ากับคนในชุมชน จากที่ไม่เคยเห็นปัญหาและใช้ชีวิตตามปกติอย่างที่เคยทำ เริ่มตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและพร้อมปรับตัวเข้าสู่วิถีใหม่อย่างไม่รีรอ
-
บริษัทขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ แสดงความรับผิดชอบต่อคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยนำเอาแนวคิด การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนไปปฏิบัติ เพื่อเป็นการคืนประโยชน์สู่ชุมชนและโลกใบนี้
-
เปลี่ยนความคิดจากการเน้นทำธุรกิจเพื่อแสวงหาผลกำไร ไปสู้การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน
-
บูรณาการปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนเข้าด้วยกัน โดยเริ่มคำนวณตั้งแต่การปล่อยก๊าซ ฝุ่นละออง หรือมลพิษ เข้าสู่อากาศ จนไปถึงการย่อยสลายของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ
-
มอบสิ่งตอบแทนให้กับผู้ประกอบกิจการที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างถูกต้อง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ควรมีบทลงโทษกับผู้ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฏ และกิจการที่แสวงหาผลกำไรแต่เพียงอย่างเดียว
-
เดินออกมาจากความเชื่อแบบผิดๆ ที่ว่า หากจะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น ก็ต้องแลกมาด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่ต้องเสียไป
-
ความเชื่อเรื่องวัตถุนิยม ซึ่งปัจจุบันถูกกระตุ้นอย่างหนักด้วยสื่อโฆษณาในรูปแบบต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้นำเราไปพบกับความสุข หรือวิถีชีวิตแบบยั่งยืนแต่อย่างใด
เป้าหมาย
เป้าหมายที่ชัดเจน รักษาถิ่นที่อยู่อาศัย เพื่อรักษาโลกของเรา เพื่อรักษามวลมนุษยชาติ
เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะสามารถไปถึงเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้อย่างแน่นอน เครือข่ายอการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกที่จัดตั้งขึ้น จะคอยเป็นผู้ผลักดันและส่งเสริม ให้นำเราไปสู่เป้าหมายที่ทุกคนเห็นพ้องตรงกันได้สำเร็จ
เป้าหมายหลักการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลก ได้แก่ การเลื่อนแผนกำหนดกาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกจากเดิม ให้เร็วขึ้นมา 15 ปี การยับยั่งอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเพิ่มเกินกว่า 1% พร้อมทั้งการกำหนดให้ภาคธุรกิจที่จากเดิมสามารถปล่อยมลพิษได้บ้าง ให้กลายเป็นไม่ปล่อยมลพิษได้อีกต่อไป หรือ “มลพิษเป็นศูนย์” ในที่สุด
เครือข่าย
เครือข่ายของกลุ่มเคลื่อนไหวและองค์กรต่างๆ ล้วนมีเป้าหมายร่วมกัน
เครือข่ายเป็นเรื่องสมัครใจและความเท่าเทียมกันของผู้เข้าร่วม
เครือข่ายต้องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จาก คนในชุมชน องค์กรต่างๆ และกลุ่มนักวิชาการ
เครือข่ายต้องอาศัยการประสานงานกัน ความไว้วางใจกัน
เครือข่ายต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน
เครือข่ายในองค์กรต้องมีผู้นำที่เป็นผู้สนับสนุนหลัก
การทำงานร่วมกัน
การทำงานร่วมกันและการประสานงานอย่างเป็นระบบ คือบ่อเกิดของเครือข่ายกู้วิกฏตภูมิอากาศ ที่ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
บรรดานักวิชาการได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็น และร่วมกันสร้างแนวทางใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อผู้คนในแต่ละประเทศจะรับเอาแนวทางต่างๆ ไปลงมือปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือ คนในชุมชนและเหล่านักวิชาการ ต้องร่วมกันทำงานและนำเอาหลักวิธีปฏิบัติต่างๆ ไปทดลองใช้ด้วยกัน
ผู้สนับสนุนจากแนวหลัง
เพื่อขยายประสิทธิภาพของการทำงานให้สูงขึ้นไปอีกขั้น เราควรมีผู้ที่คอยสนับสนุนเราจากแนวหลัง ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายกู้วิกฤตสภาพอากาศนี้ แต่คอยให้การช่วยเหลือในเรื่องอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น
-
การแลกเปลี่ยนข้อมูล
-
การสื่อสาร
-
เงินทุนสนับสนุน
-
การสังเกตการณ์ และประเมินผล
-
การให้คำแนะนำเชิงกลยุทย์
ผู้สนับสนุนจากแนวหลัง: การแลกเปลี่ยนข้อมูล
การแลกเปลี่ยนข้อมูล ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของการทำงานร่วมกันภายในเครือข่าย ตัวอย่างเช่น การที่องค์กรแต่ละองค์กรได้แบ่งปันข้อมูลของตน และแผนการที่ตนได้ร่างเอาไว้ ให้กับคนอื่นๆ ในเครือข่ายอย่างเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนรับทราบและเข้าใจตรงกัน นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของตนที่ได้เข้ามาร่วมกันทำงานในเครือข่ายนี้ เป็นต้น
โดยรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การแบ่งปันของมูลผ่านทางข้อมูลส่วนกลาง การทำพรีเซนเทชั่น การประชุม และอื่นๆ
ผู้สนับสนุนจากแนวหลัง: การสื่อสาร
การสื่อสารถือเป็นก้าวที่สอง ของการประสานงานร่วมกัน โดยการสื่อสารไม่จำเป็นต้องจำกัดวงเฉพาะภายในเครือข่ายของตนเท่านั้น แต่สามารถทำได้ระหว่างเครือข่ายแต่ละเครือข่าย ผ่านช่องทางต่างๆ ที่กำหนด
ทั้งนี้ การสื่อสารอาจเป็นได้ทั้งการให้ความช่วยเหลือ หรือการขอความช่วยเหลือจากเครือข่ายอื่นๆ
ผู้สนับสนุนจากแนวหลัง: เงินทุนสนับสนุน
เงินทุนมาจากเงินที่องค์กรต่างๆ ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะมีความเกี่ยวข้อง กับกิจกรรมที่เครือข่ายกู้วิกฏตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกทำขึ้นหรือไม่ก็ตาม โดยเงินทุนนี่จะถูกเก็บสำรองใว้ใช้ในการปฏิบัติงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในส่วนภูมิภาคต่างๆ
ผู้สนับสนุนจากแนวหลัง: การสังเกตการณ์และประเมินผล
เหล่านักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการต่างๆ ทำหน้าที่ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างต่อเนื่อง
รายงานให้กับผู้ให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกจากแนวหลัง เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวิธีปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกแต่ละอย่างไปพร้อมกัน
ผู้สนับสนุนจากแนวหลัง: คำแนะนำเชิงกลยุทย์
เครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลก จะได้รับประโยชน์อย่างสูงจากคำแนะนำเชิงกลยุทย์ เช่น คำแนะนำทางด้านเทคนิค ขั้นตอนการลำดับความสำคัญในแต่ละภูมิภาค การตรวจหาข้อบกพร่องที่อาจมองข้ามไปในตอนต้น การไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นภายในเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานของเครือข่ายให้เป็นไปตามที่กำหนด
องค์ประกอบ
ผู้ให้การสนับสนุนจากแนวหลังเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ เพราะพวกเขามีส่วนให้ความช่วยเหลืองานของเครือข่ายได้อีกหลากหลายด้านด้วยกัน แม้จะไม่ได้เข้ามาทำงานร่วมกันในเครือข่ายก็ตาม ดังนั้น การสื่อสารสามารถทำได้โดย ผ่านองค์กรต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเป็นคนกลางคอยประสานงานโดยเฉพาะ
องค์ประกอบอื่นๆ ที่เครือข่ายไม่ควรมองข้าม
องค์ประกอบด้านเทคนิคและภูมิประเทศ
เครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศมีส่วนในการเพิ่มศักยภาพในการนำวิธีปฏิบัติ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละภูมิประเทศ
ซึ่งควรประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจากประเทศต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อนำเอาเทคโนโลยีอื่นๆ มามีส่วนช่วยในการใช้แก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับแต่ละภูมิภาคให้ได้มากที่สุด
ผู้ประสานงานในเครือข่ายภาควิชาการ ทำหน้าที่ประสานงานภายในกลุ่มของตนเองเป็นหลัก โดยจะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการสื่อสาร โดยเฉพาะเวลานำเอาแนวคิดที่ได้รับจากภาควิชาการ ไปถ่ายทอดให้กับภาคปฏิบัติ
ซึ่งระหว่างที่นักวิชาการภาคปฏิบัติกำลังดำเนินการอยู่นั้น ผู้ประสานงานในภาควิชาการนี้จะคอยเป็นผู้คิดค้น หาวิธีปฏิบัติในแบบอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้แทนกันได้ นอกเหนือจากการประสานงานในกลุ่มของตน ในบางครั้งผู้ประสานงานอาจจำเป็นต้องทำหน้าที่ประสานงานกับผู้คนในแต่ละท้องถิ่น เพื่อถ่ายทอดข้อมูลความรู้อีกด้วย
ผู้ประสานงานประจำประเทศ ประสานงานภาควิชาการกำลังทำหน้าที่ของตนอยู่นั้น ผู้ประสานงานประจำประเทศทำหน้าที่คอยตรวจหาปัญหาของแต่ละภูมิภาค เพื่อเร่งทำการแก้ไข โดยนำเอาวิธีแก้ไขปัญหาที่ได้รับมาจากภาควิชาการมาทดลองปฏิบัติตาม
ผู้ประสานงานทั่วไปในเครือข่ายได้แก่พนักงานบริหารงานทั่วไป ทำหน้าที่ประสานงานตามที่ตนได้รับมอบหมาย
ผู้ประสานงานทั่วไปนี้จะค่อนข้างมีความเข้าใจ และความชำนาญด้านการเชื่อมโยงงานเข้าด้วยกันมากเป็นพิเศษ จึงมีส่วนช่วยเติมเต็มช่องว่างระหว่างผู้ปฏิบัติงานและวิธีปฏิบัติการได้อย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และเป็นไปตามที่ผู้ให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์กำหนด ทั้งนี้เงินทุนที่จะนำมาสนับสนุนผู้ประสานงานทั่วไป
ผู้ประสานงานทั่วไปควรมาจากผู้ประสานงานภาควิชาการ และภาคปฏิบัติการตามลำดับ
ผู้เป็นกำลังสำคัญ
ผู้เป็นกำลังสำคัญคือผลลัพธ์ที่เครือข่ายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกนี้สร้างขึ้น จะเป็นเครื่องตัดสินความสำเร็จ
การรับรู้ในสังคม ความร่วมมือในสังคม ความช่วยเหลือจากภาครัฐ แผนปฏิบัติจากภาควิชาการ
ก็ยังมิอาจจะแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ได้ทั้งหมด หากปราศจากพลังความร่วมมือจากทุกๆ คนในสังคม เข้ามาร่วมกันช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ครั้งนี้
พื่อที่โลกใบนี้จะยังคงอยู่กับเราและถูกส่งมอบให้กับคนรุ่นหลัง สืบไป
---
ยาน วิลเล็ม โรรอฟ
บริษัท เจได อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ติดต่อเรา)
Joint Economic Development Initiative
> > Linked in
คุณยาน วิลเล็ม โรรอฟ สำเร็จการศึกษาในระดับมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยโกรนิเกน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กร การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาธุรกิจขนาดย่อม หรือ SME ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปี ในตำแหน่งผู้ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจทวิภาคีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปี 2003 คุณยาน ได้ก่อตั้งธุรกิจครอบครัวขนาดเล็กภายในประเทศไทย ทำหน้าที่ผลิตและส่งออกสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง ณ พื้นที่เล็กๆ อยู่บริเวณรอบนอกของเมืองเชียงใหม่
เนื้อหาอาจมีการแก้ไขโดยไม่มีการแจ้งเตือน
ควรคิดให้ดีก่อนที่จะปริ้นท์เนื้อหาข้างบน
ดู> แหล่งที่มาของบทความและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Add new comment